เรื่องของ "พาสปอร์ต" - SABUYTICKET AND TRAVEL
ค้นหา
ทัวร์ทั่วโลก เที่ยวคุ้ม ราคาโดนใจ เที่ยวได้จริง ไม่ทิ้งลูกทัวร์
Go to content
Main menu:
×
หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
โปรแกรมทัวร์
ทัวร์เกาหลี
ทัวร์เกาหลี
ทัวร์เกาหลี ปูซาน
ทัวร์ญี่ปุ่น
ทัวร์ญี่ปุ่น โตเกียว
ทัวร์ญี่ปุ่น ฮอกไกโด
ทัวร์ญี่ปุ่น โอซาก้า
ทัวร์ญี่ปุ่น นาโกย่า
ทัวร์ญี่ปุ่น ฟูกุโอกะ
ทัวร์ญี่ปุ่น คิวชู
ทัวร์พม่า
ย่างกุ้ง หงสา อินทร์แขวน
มัณฑะเลย์
พุกาม มัณฑะเลย์
ทัวร์เวียดนาม
ทัวร์เวียดนามเหนือ
ทัวร์เวียดนามกลาง
ทัวร์เวียดนามใต้
ทัวร์ลาว
ทัวร์กัมพูชา
ทัวร์สิงค์โปร์
ทัวร์มาเลเซีย
ทัวร์ฮ่องกง
ทัวร์มาเก๊า
ทัวร์ตลาดค้าส่ง "จีน"
ทัวร์ไต้หวัน
ทัวร์บาหลี
ทัวร์ภูฏาน
ทัวร์อินเดีย
ทัวร์อินเดีย แคชเมียร์
ทัวร์อินเดีย ชัยปุระ
ทัวร์อินเดีย พุทธคยา
ทัวร์ตุรกี
ทัวร์รัสเซีย
มอสโก เซนต์ปีเตอร์
มอสโก ซากอร์ส
ทัวร์กรีซ
ทัวร์โครเอเชีย
ทัวร์เนเธอร์แลนด์
ทัวร์โปแลนด์
ทัวร์ฝรั่งเศส
ทัวร์ยุโรปตะวันออก
ทัวร์เยอรมัน
ทัวร์สวิตเซอร์แลนด์
ทัวร์สแกนดิเนเวีย
ทัวร์สเปน
ทัวร์อังกฤษ
ทัวร์อิตาลี
แกรนด์อิตาลี
อิตาลี สวิสฯ ฝรั่งเศส
ทัวร์อิยิปต์
อุปกรณ์การเดินทาง
กระเป๋าจัดระเบียบ
สายรัดกระเป๋า
ชุดอุปกรณ์การเดินทาง
โปรโมชั่น
D-Pay D-Point
ภาพจากลูกค้า
กรุ๊ปเหมา
ทัวร์พม่า ย่างกุ้ง
ทัวร์พม่า พุกาม
ทัวร์เกาหลีใต้
ทัวร์เวียดนามเหนือ
ทัวร์กัมพูชา
ทัวร์มาเก๊า
ทัวร์ญี่ปุ่น
ทัวร์ไทยเชื่ยนเชี่ยวหลาน
ทัวร์เวียดนามเหนือ ซาปา
ทัวร์ญี่ปุ่น โตเกียว ซากุระ
ภาพจากคุณ "รัตติกาล"
ทัวร์ยุโรป "อิตาลี"
ทัวร์ยุโรปตะวันออก
ทัวร์พม่า ย่างกุ้ง
ทัวร์ไต้หวัน
ภาพจากคุณ "ไตรรัตน์"
ทัวร์เกาหลี
ทัวร์ยุโรป "อิตาลี"
ทัวร์ญี่ปุ่น โอซาก้า
ทัวร์สแกนดิเนเวีย
ภาพจากคุณ "ศิริพร"
ทัวร์ฮ่องกง
ทัวร์พม่า ย่างกุ้ง
ทัวร์ญี่ปุ่น โตเกียว
ทัวร์ญี่ปุ่น ฮอกไกโด
ภาพจากคุณ "วาสนา"
ทัวร์อินเดีย
ทัวร์เวียดนามใต้
ทัวร์พม่า พุกาม
ทัวร์รัสเซีย
ภาพจากคุณ "ภัทริสา"
ภาพจากคุณ "ศรีสวรรค์"
ภาพจากคุณ "ต่อ"
ภาพจากคุณ "หยก"
ภาพจากคุณ "นุ่น"
ภาพจากคุณ "นิล"
ภาพจากคุณ "ช่า"
ภาพจากคุณ "ปัท"
ภาพจากคุณ "สุมาลี"
ภาพจากคุณ "กิ่ง"
ภาพจากคุณ "แน๊ต"
ภาพจากคุณ "อรวรรณ"
ภาพจากคุณ "พัทธนันท์"
บทความ
เอกสารยื่นวีซ่า
วีซ่า "อังกฤษ"
วีซ่า "สวิตเซอร์แลนด์"
วีซ่า "เยอรมัน"
วีซ่า "จีน"
วีซ่า "อินเดีย"
เรื่องของ "วีซ่า"
เรื่องของ "พาสปอร์ต"
เตรียมตัวก่อนเดินทาง
จัดระดับคุณภาพ "ทัวร์"
เรื่องของ "โปรไฟไหม้"
เรื่องของ "ทัวร์ราคาถูก"
เทคนิคเบื้องต้น สำหรับการผ่าน ตม. เกาหลี
5 ประเทศที่ควรไป
ติดต่อเรา
เอกสารยื่นวีซ่า
เรื่องของ "วีซ่า"
เรื่องของ "พาสปอร์ต"
เตรียมตัวก่อนเดินทาง
จัดระดับคุณภาพ "ทัวร์"
เรื่องของ "โปรไฟไหม้"
เรื่องของ "ทัวร์ราคาถูก"
เทคนิคเบื้องต้น สำหรับการผ่าน ตม. เกาหลี
5 ประเทศที่ควรไป
เรื่องของ "พาสปอร์ต"
บทความ
ความหมายของหนังสือเดินทาง
หนั
งสือเดินทาง หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกกันว่า Passport เป็นเอกสารสำคัญสำหรับบุคคลที่จะเดินทางไปต่างประเทศโดยในหนังสือเดินทางจะมีการระบุข้อมูล
อาทิ ชื่อผู้เดินทาง ลายมือชื่อรูปถ่าย อายุ สัญชาติ ฯลฯเพื่ออำนวยความสะดวกและใช้เป็นหลักฐานในการขอหนังสือลงตราหรือที่เรียกกันว่าวีซ่า (Visa)
ประเภทของหนังสือเดินทาง
หนังสือเดินทาง แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
หนังสือเดินทางฑูต (Diplomatic)
เป็นหนังสือเดินทางสำหรับนักการทูตและข้าราชการการเมือง เพื่อใช้เดินทางไปราชการต่างประเทศเท่านั้น มีสีแดงสด
หนังสือเดินทางราชการ (Official Passport)
เป็นหนังสือเดินทางสำหรับข้าราชการ สำหรับเดินทางไปราชการนั้น ๆ เป็นเล่มสีน้ำเงิน
หนังสือเดินทางยกเว้นค่าธรรมเนียม (Gratis)
เป็นหนังสือเดินทางสำหรับข้าราชการเกษียณอายุ, พนักงานของรัฐ และข้าราชการที่จะเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศโดยทุนส่วนตัว หรือไปฝึกอบรมในหลักสูตรต่าง ๆ จะป็นเล่มสีน้ำตาล
หนังสือเดินทาง (Passport)
เป็นหนังสือเดินทางสำหรับประชาชนทั่วไป หรือข้าราชการ และพนักงานของรัฐ ก็สามารถใช้ในกรณีที่เดินทางไปต่างประเทศด้วยกิจธุระส่วนตัว ตัวเล่มจะใช้สีเลือดหมู
อย่างไรก็ตามตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา กรมการกงสุล กระทรวงต่างประเทศได้เปลี่ยนหนังสือเดินทางธรรมดามาเป็น "หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์" หรือ "E-passport"แล้ว ซึ่งเป็นหนังสือเดินทางที่มีคุณลักษณะเฉพาะทางเทคนิค ตามข้อกำหนดขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ซึ่งแตกต่างจากหนังสือเดินทางแบบเดิม ดังนี้
มีการบันทึกข้อมูลชีวภาพ (biometric data) ได้แก่ รูปใบหน้า และ/หรือ ลายนิ้วมือ และ/หรือ ม่านตา ไว้ใน Contactless Integrated Circuit ซึ่งฝังอยู่ในเล่มหนังสือเดินทาง
มีการเข้ารหัสข้อมูล เพื่อการตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงของหน้งสือเดินทาง
หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ดีกว่าหนังสือเดินทางแบบเดิมอย่างไร
สามารถป้องกันการปลอมแปลงได้สูง เป็นมาตรการสำคัญในการสกัดกั้นขบวนการก่อการร้ายข้ามชาติ การลักลอบเข้าเมือง ฯลฯ
สามารถตรวจสอบเพื่อพิสูจน์ตัวบุคคลได้แม่นยำและรวดเร็ว อำนวยความสะดวกต่อการเดินทาง การเข้าเมือง และส่งเสริมการท่องเที่ยว
เสริมสร้างภาพลักษณ์ของประเทศ ทำให้หนังสือเดินทางไทยมีความน่าเชื่อถือ และได้รับการยอมรับในระดับสากลยิ่งขึ้น ส่งผลต่อเนื่องทางบวกด้านเศรษฐกิจการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวของประเทศ
เอกสารสารสำหรับใช้ทำหนังสือเดินทาง (Passport)
เอกสารที่ต้องใช้ในการทำหนังสือเดินทาง (Passport) มีรายละเอียดดังนี้
สำหรับการขอทำหนังสือเดินทางสำหรับประชาชนทั่วไป ที่อายุเกิน 20 ปีขึ้นไปแล้ว
จะต้องเตรียมเอกสารเพื่อยื่นขอทำหนังสือเดินทาง ดังนี้
1. บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังมีอายุใช้งาน หรือบัตรข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวที่ใช้แทนตามกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับจริง
(ในกรณีที่เป็นบัตรข้าราชการให้นำสำเนาทะเบียนบ้านมาด้วย)
2 หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ
(ถ้ามี)
3. ค่าธรรมเนียม 1,000 บาท
กรณีที่ผู้ยื่นขอเป็นผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี ก็จะมีรายละเอียดเอกสารที่ต่างออกไป ดังนี้
1. สูติบัตรฉบับจริง หากเป็นฉบับสำเนาก็ต้องได้รับการรับรองจากเขตหรืออำเภอ
2. บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังมีอายุใช้งาน หรือบัตรที่ใช้แทนได้ตามกฎกระทรวงมหาดไทยของบิดา มารดา หรือผู้มีอำนาจปกครองฉบับจริง
และหากชื่อ-นามสกุล บิดา มารดา ในสูติบัตรไม่ตรงกับบัตรประจำตัวประชาชน ให้นำหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล ที่เป็นต้นฉบับมาแสดงด้วย
ในกรณีที่มารดาหย่าและจดทะเบียนสมรสใหม่ และใช้นามสกุลใหม่ตามสามีให้นำหลักฐานการหย่าและการสมรสที่เป็นต้นฉบับมา แสดงด้วย
3. หนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ และบัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริงของบิดา มารดา
ในกรณีที่บิดา/มารดา หรือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่สามารถมาแสดงตัวได้
4. เอกสารอื่น ๆ ที่จำเป็น อาทิ หลักฐานใบเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุล เอกสารหลักฐานการรับรองบุตร หรือรับบุตรบุญธรรม
บันทึกการหย่า ซึ่งมีข้อความระบุให้บุตรอยู่ในความดูแลของบิดาหรือมารดา เป็นต้น
5. ค่าธรรมเนียม 1,000 บาท
ส่วนในกรณีต่าง ๆ เช่น กรณี บิดา มารดา ของผู้เยาว์เสียชีวิต, กรณีที่บิดา มารดา ของผู้เยาว์เป็นชาวต่างชาติที่มิได้จดทะเบียนสมรส,
กรณีที่ไม่สามารถตามหา ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาให้ความยินยอมได้, กรณีบิดามารดามิได้จดทะเบียนสมรสแต่บุตร อยู่ในความดูแลของบิดาฝ่ายเดียวมาตลอด
และไม่สามารถตามหามารดาได้ ซึ่งกรณีเหล่านี้ให้นำคำสั่งศาลซึ่งระบุชื่อผู้มีอำนาจปกครอง พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจปกครองมาแสดงด้วย
ขั้นตอนการขอหนังสือเดินทาง
1. รับบัตรคิว
2. ยื่นบัตรประจำตัวประชาชนที่มีเลข 13 หลัก หรือสูติบัตรฉบับจริง (หากไม่มีเลข 13 หลัก ต้องนำสำเนาทะเบียนบ้านมาแสดง) พร้อมเอกสารหลักฐานอื่น ๆ ที่จำเป็น เพื่อตรวจสอบข้อมูล
3. ในการทำหนังสือเดินทางจะมีการเก็บข้อมูลทางชีวภาพ คือมีการวัดส่วนสูง เก็บลายพิมพ์นิ้วมือนิ้วชี้ซ้าย และนิ้วชี้ขวาด้วยเครื่องสแกนเนอร์ และถ่ายรูปใบหน้า
4. แจ้งความประสงค์ว่าจะมารับหนังสือเดินทางด้วยตัวเอง หรือต้องการขอรับเล่มทางไปรษณีย์
5. ชำระค่าธรรมเนียมการทำหนังสือเดินทาง 1,000 บาท หากต้องการให้จัดส่งทางไปรษณีย์ จะต้องชำระค่าส่งไปรษณีย์เพิ่มเติม 40 บาท จากนั้นรับใบเสร็จรับเงินและรับใบนัดรับเล่ม
กรณียื่นขอทำหนังสือเดินทางที่กรมการกงสุล หรือสำนักงานสาขาในกรุงเทพฯ จะสามารถรับหนังสือเดินทางได้ภายใน 2 วันทำการไม่นับวันยื่นคำร้อง และหากรับทางไปรษณีย์จะได้รับใน 5-7 วันทำการ (ไม่รวมวันเสาร์-อาทิตย์)
กรณียื่นคำร้องที่สำนักงานสาขาในต่างจังหวัด หนังสือเดินทางจะจัดส่งให้ทางไปรษณีย์เท่านั้น โดยจะได้รับหนังสือเดินทางภายใน 5-7 วันทำการ ไม่นับวันยื่นคำร้อง และวันเสาร์-อาทิตย์
หลักฐานที่ใช้ประกอบการรับหนังสือเดินทาง
กรณีรับด้วยตัวเอง
1. บัตรประชาชนตัวจริงของผู้รับ
2. ใบรับหนังสือเดินทาง
กรณีมอบหมายให้ผู้อื่นมารับแทน
1. บัตรประชาชนตัวจริงของผู้ถือหนังสือเดินทาง
2. บัตรประชาชนตัวจริงของผู้รับแทน
3. ใบรับหนังสือเดินทางที่ลงนามมอบอำนาจแล้ว
หนังสือเดินทางหาย ทำอย่างไร
กรณีที่ทำหนังสือเดินทางสูญหายในประเทศ ต้องติดต่อแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจและรับใบแจ้งความจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อมายื่นขอทำหนังสือเดินทางฉบับใหม่ และยกเลิกการใช้งานหนังสือเดินทางฉบับที่สูญหาย
กรณีที่ทำหนังสือเดินทางสูญหายในต่างประเทศ ต้องแจ้งความหนังสือเดินทางสูญหายต่อทางการท้องถิ่น และนำใบรับแจ้งความดังกล่าวนั้นพร้อมเอกสารแสดงการมีสัญชาติไทยของตน หรือเอกสารทะเบียนราษฎรที่มีอยู่ เช่น บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน ฯลฯ ไปติดต่อที่สถานทูต สถานกงสุลไทยที่ใกล้ที่สุด เพื่อขอหนังสือเดินทางเล่มใหม่
กรณีที่ทำหนังสือเดินทางสูญหายในต่างประเทศแล้วต้องการเดินทางกลับประเทศไทยเป็นการเร่งด่วน ไม่สามารถรอรับหนังสือเดินทางได้ สถานทูตสถานกงสุลจะออกเอกสารเดินทาง (Certificate of Identity) ให้ใช้เดินทางกลับประเทศไทยได้ครั้งเดียว เมื่อกลับถึงประเทศไทยแล้วเอกสารเดินทางจะหมดอายุการใช้งานทันที
วันเวลา และสถานที่ที่สามารถติดต่อทำหนังสือเดินทางได้
กรมการกงสุล
123 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
โทรศัพท์ 0 2981 7257
วันจันทร์-ศุกร์ 08.00-15.30 น.
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ปิ่นเกล้า
อาคาร SC Plaza สถานีขนส่งกรุงเทพ (สายใต่ใหม่) ถนนบรมราชชนนี
โทรศัพท์ 0 2422 3431
วันจันทร์-ศุกร์ 08.30-15.30 น.
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว บางนา
ศูนย์การค้าธัญญาพาร์ค ศรีนครินทร์ ชั้น 2 โซน E
โทรศัพท์ 0 2136 3800-01
วันจันทร์-ศุกร์ 08.30-15.30 น.
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว มีนบุรี
ศูนย์การค้าบิ๊กซี สุวินทวงศ์ ชั้น 2 แขวงมีนบุรี กรุงเทพฯ 10510
โทรศัพท์ 0 2024 8362
วันจันทร์-ศุกร์ 08.30-15.30 น.
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดขอนแก่น
ศูนย์ราชการจังหวัดขอนแก่น ถนนศูนย์ราชการ จังหวัดขอนแก่น
โทรศัพท์ 0 4324 2707, 0 4324 2655
วันจันทร์-ศุกร์ 08.30-16.30 น.
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดเชียงใหม่
ศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ ถนนโชตนา ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
โทรศัพท์ 0 5389 1535-6
วันจันทร์-ศุกร์ 08.00-16.30 น.
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดเชียงราย
อาคารองค์การบริหารส่วนจังหวัดหลังใหม่ ถนนศูนย์ราชการ ตําบลริมกก
อําเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
โทรศัพท์ 053 175 375
วันจันทร์-ศุกร์ 08.00-16.30 น.
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดสงขลา
ศาลากลางจังหวัดสงขลา (หลังเก่า) ชั้น 1 ถนนราชดำเนิน
อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 9000
โทรศัพท์ 0 7432 6510
วันจันทร์-ศุกร์ 08.00-16.30 น.
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดอุบลราชธานี
อาคารสำนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัด
โทรศัพท์ 0 4534 4581-2
วันจันทร์-ศุกร์ 08.00-16.30 น.
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ศาลาประชาคม ถนนหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000
โทรศัพท์ 0 7727 4940, 0 7727 4942-3
วันจันทร์-ศุกร์ 08.00-16.30 น.
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดนครราชสีมา
ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา ถนนมหาดไทย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000
โทรศัพท์ 0 4424 3132 , 0 4424 3124
วันจันทร์-ศุกร์ 08.00-16.30 น.
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดอุดรธานี
ศูนย์อเนกประสงค์ ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี (ตรงข้ามกับศาลหลักเมือง)
ถนนอธิบดี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 41000
โทรศัพท์ 0 4221 2827, 0 4221 2318
วันจันทร์-ศุกร์ 08.00-16.30 น.
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดพิษณุโลก
ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก ถนนเทพารักษ์
อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000
โทรศัพท์ 0 5525 8173, 0 5525 8155
วันจันทร์-ศุกร์ 08.00-16.30 น.
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดยะลา
ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)
ถนนสุขยางค์ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา 95000
โทรศัพท์ 0 7327 4526 , 0 7327 4036
วันจันทร์-ศุกร์ 08.00-16.30 น.
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดภูเก็ต
ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต ถนนนริศร อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 83000
โทรศัพท์ 0 7622 2080-81
วันจันทร์-ศุกร์ 08.00-16.30 น.
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว เมืองพัทยา
ศูนย์การค้า ดิ อเวนิว ชั้น 1 ตำบลหนองปรือ
อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 20150
โทรศัพท์ 0 3842 2438
วันจันทร์-ศุกร์ 10.00-18.00 น.
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดนครสวรรค์
ศูนย์บริการร่วมจังหวัดนครสวรรค์ ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี ถนนพหลโยธิน
อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 60000
โทรศัพท์ 0 5623 3453-4
วันจันทร์-ศุกร์ 08.00-16.30 น.
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดจันทบุรี
อาคารลานค้าชุมชน ถนนเลียบเนิน ตำบลวัดใหม่
อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี 22000
โทรศัพท์ 039 301 706-9
วันจันทร์-ศุกร์ 08.00-16.30 น.
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำหนังสือเดินทาง
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำหนังสือเดินทางใหม่ได้ที่เว็บไซต์ consular.go.th
หรือกรมการกงสุล โทรศัพท์ 0 2981 7257
หน้าแรก
|
เกี่ยวกับเรา
|
โปรแกรมทัวร์
|
อุปกรณ์การเดินทาง
|
โปรโมชั่น
|
ภาพจากลูกค้า
|
บทความ
|
ติดต่อเรา
|
General Site Map
Back to content
|
Back to main menu
To use this website you must enable JavaScript.